วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555

ส่งงานหน่วยการเรียนที่1

1. จงให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลยีและคำว่าสารสนเทศ
ตอบ. เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง วิธีการปฏิบัติ ที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอน เพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพ ในเรื่องของความรวดเร็ว ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง เป็นต้น
 สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลดิบ ที่ได้ผ่านการประมวลผล จากคอมพิวเตอร์มา แล้ว คือผ่านการคำนวณ การจัดเรียง การเปรียบเทียบ เป็นต้น ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อผู้ที่์์์ี่ เกี่ยวข้องได้ 

2. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหมายถึงอะไร
ตอบ   การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมาช่วยในการรวบรวม ประมวลผล สรุป จัดเก็บ และเผยแพร่ สารสนเทศที่ได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตัวเลข ตัวอักษร ภาพ และเสียง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

3.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ.  ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เทคโนโลยีเข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานทำให้มนุษญ์มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เช่น การสร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพมาตรฐาน การผลิตสินค้าและการให้บริการต่างๆ ที่ตอบสนองความต้องการมนุษย์ได้มากขึ้น เทคโนดลยีทำให้สามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากและมีราคาถูกลง และช่วยให้การติดต่อสื่อสารเป็นอย่างสะดวกและรวดเร็ว ประชากรในโลกสามารถติดต่อสื่อสารและรับฟังข่าวสารจากทั่วทุกมุมโลกได้ตลอดเวลา  

4.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความเป็นมาหรือพัฒนาการโดยย่ออย่างไร
ตอบ. ยุคที่ 1 การประมวลผลข้อมูล (Data Processing Age) มีวัตถุประสงค์เพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลของรายการประจำ (Transaction Processing) เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร
ยุคที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ (management Information System : MIS)มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุม ดำเนินการ ติดตามผลและวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่าง ๆ
ยุคที่ 3 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resource Management) ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่จะช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ 
ยุคที่ 4 ยุคปัจจุบันหรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) ใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ


5.ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence :AI) หมายถึงอะไรและมีส่วนประกอบที่สำคัญอย่างไร
ตอบ.  หมายถึงความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต ปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมเป็นหลัก แต่ยังรวมถึงศาสตร์ในด้านอื่นๆอย่างจิตวิทยาปรัชญาหรือชีววิทยา ซึ่งสาขาปัญญาประดิษฐ์เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการคิดการกระทำ การให้เหตุผลการปรับตัว หรือการอนุมาน และการทำงานของสมอง

ระบบปัญญาประดิษฐ์มี  4  ลักษณะ   ได้แก่
         1)  ระบบหุ่นยนต์ หรือแขนกล (Robotics or Robot arm System) คือ  หุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ที่ควบคุมการทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ มีจุดประสงค์เพื่อให้ทำงานแทนมนุษย์ในงานที่ต้องการความเร็ว หรือเสี่ยงอันตราย เช่น แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม หรือหุ่นยนต์กู้ระเบิด เป็นต้น
       2)  ระบบประมวลภาษาพูด (Natural Language Processing System) คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติ (Synthesize) เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ เช่น เครื่องคิดเลขพูดได้ (Talking Calculator) หรือนาฬิกาปลุกพูดได้ (Talking Clock) เป็นต้น
     3)  ระบบการรู้จำเสียงพูด (Speech Recognition System) คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ และสามารถจดจำคำพูดของมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง กล่าวคือเป็นการพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ด้วยภาษาพูด เช่น งานระบบรักษาความปลอดภัย งานพิมพ์เอกสารสำหรับผู้พิการ  เป็นต้น
    4)  ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่มีหรือจากประสบการณ์ ในการแก้ปัญหาหนึ่ง ไปแก้ไขปัญหาอื่นอย่างมีเหตุผล ระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูล (Database) ซึ่งมนุษย์ผู้มีความรู้ความสามารถเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ ไว้ในฐานข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ได้จากฐานความรู้นั้น  เช่น  เครื่องคอมพิวเตอร์วิเคราะห์โรค หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์ทำนายโชคชะตา  เป็นต้น




6.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ.    1. ความเร็ว การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้จะช่วยให้การทำงานมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผล การค้นหาข้อมูลจะทำได้สะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล
           2. ความถูกต้อง คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการประมวลผลข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ ทำให้ข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลนั้น มีความผิดพลาดน้อยกว่าการประมวลผลด้วยมนุษย์
           3. การเก็บบันทึกข้อมูล ข้อมูลที่เก็บบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์ จะเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล ทำให้มีความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก และมีความ คงทนถาวรมากกว่าการจัดเก็บข้อมูลในรูปของกระดาษ
         4. การเผยแพร่ข้อมูล การรับส่งข้อมูลในปัจจุบันโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จะทำให้การเผยแพร่ ข้อมูลทำได้อย่างกว้างขวาง สามารถแพร่กระจายไปได้ทั่วโลกอย่างไร้พรมแดน

7. สารสนเทศที่ดีและควรมีลักษณะเป็นอย่างไร
ตอบ.  1. มีความถูกต้อง แม่นยำ
2. ทันต่อการใช้งาน (ทันสมัยอยู่เสมอ)
3. ความสมบูรณ์ในตัวเอง
4. มีความกะทัดรัก ชัดเจน
5. ตรงกับความต้องการ
นอกจากนี้สารสนเทศที่ดีควรมีคุณสมบัติดังนี้
- มีความลำเอียดแม่นยำ
- มีคุณสมบัติเชิงปริมาณ สามารถแสดงออกมาในรูปของตัวเลข
- มีความยอมรับได้ 
- ใช้งานได้ง่ายและรวดเร็ว
- ไม่ลำเอียง
- ชัดเจน เข้าใจง่าย

8. จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตอบ.    ในสังคมปัจจุบันไม่ว่าใครจะอยู่ที่ใด  แม้ในเมืองหรือชนบทก็ตาม  ย่อมมีการติดต่อสื่อสารกับบุคคลหรือสังคมอื่นอยู่เสมอไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง  เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น หรือการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในชีวิตประจำวันด้วยสื่อต่างๆ  เช่น  หนังสือพิมพ์  วิทยุกระจายเสียง  วิทยุโทรทัศน์ โทรศัพท์  โทรสาร  ล้วนเป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งสิ้น  นอกจากนี้ยังใช้เทคโนโลยีเครื่องมือหรือกลไกเพื่ออำนวยความสะดวก  เช่น  การถอนเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ  (ATM : Automatic Teller/Technology Machine)  การสแกนลายนิ้วมือการเข้าปฏิบัติงานในสำนักงาน  การจ่ายค่าโดยสารรถไฟฟ้า ผ่านบัตรแถบแม่เหล็ก  เป็นต้น  

9. จงอธิบายกระแสโลกาภิวัฒน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบัน
ตอบ.     กระแสโลกาภิวัฒน์  ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  ในปัจจุบันช่วยให้ความเป็นอยู่ ในชีวิตประจำวันของเราสะดวกสบายมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับยุคก่อน การเดินทางและติดต่อสื่อสารระหว่างกันสามารถทำได้ง่ายขึ้น มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งาน  ในทุกสาขาอาชีพ เช่น  การสื่อสาร  การธนาคาร  การบิน  วิศวกรรม  สถาปัตยกรรม  การแพทย์  การศึกษา  หรือการเรียนการสอน  ซึ่งส่งผลให้วิทยาการต่างๆ  เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว  การติดตามข่าวสารที่เกิดขึ้นในส่วนต่างๆ  ของโลกได้ทันเหตุการณ์   สามารถรับรู้ข่าวสารข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ทั้งที่อยู่ห่างไกลกันคนละสถานที่  เช่น การถ่ายทอดสด  การเสนอข่าวเหตุการณ์สำคัญ  รายการแข่งขันกีฬา การถ่ายทอดสัญญาณผ่านระบบดาวเทียมจากประเทศต่างๆ  การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พิมพ์รายงาน สร้างภาพกราฟิก  เก็บข้อมูล   สืบค้นข้อมูล   ฟังเพลง   รวมถึงการประยุกต์ใช้  ในการเรียนการสอน  จึงนับได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญ ต่อการดำรงชีวิต การศึกษา และการเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในทุกๆ ด้าน ช่วยส่งเสริมทักษะ  และสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลิน  ไปพร้อมๆ กัน

10. จงกล่าวถึงบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งในด้านประโยชน์และโทษที่มีต่อผู้ใช้และสังคม
ตอบ.    -  ช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการสื่อสารที่รวดเร็วและกว้างไกล

         -  ช่วยทำให้วิทยาการต่างๆ  เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว


         -  การรับรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของโลกเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว

         -  สามารถเข้าถึงคลังข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก  ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ในการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต

         -  สนับสนุนการทำงานและกระบวนการผลิต เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการวางแผนการออกแบบและการควบคุมระบบการทำงาน

          -  ส่งเสริมระบบบริหารจัดการในรูปแบบใหม่  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการหน่วยงานหรือองค์กร

          -  กระจายโอกาสด้านการศึกษา  ให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล  สามารถเรียนรู้ผ่านระบบการสอนทางไกลหรือผ่านดาวเทียมได้

         -  สามารถเผยแพร่สารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สังคมโลกได้โดยง่าย  เช่น  การเผยแพร่งานในอินเตอร์เน็ตตำบล  เป็นต้น

        -  ช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ  อย่างต่อเนื่อง

ส่งงานหน่วยการเรียนที่ 2

1.คำว่า"ระบบ"และ"วิธีการเชิงระบบ" หมายถึงอะไร
ตอบ  ระบบ หมายถึงสิ่งที่ประกอบขึ้นมาจากหน่วยย่อยหรือองค์ประกอบย่อย ที่จะต้องมีความสัมพันธ์และทำหน้าที่ร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไห้          วิธีเชิงระบบคือ การดำรงชีวิตของมนุษย์ ถ้าหากพิจารณาแล้วจะเห็นว่าทุกอย่างเกิดขึ้นอย่างเป็น  ระบบเกือบทั้งสิ้น


 2.องค์ประกอบสำคัญของวิธระบบได้แก่อะไร
  ตอบ 1. ฮาร์ดแวร์(เครื่องจักรอุปกรณ)์

          2. ซอฟต์แวร์

          3. ข้อมูล

         4. บุคลากร

         5.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน


3.
ระบบสารสนเทศหมายถึงอะไร

  ตอบ.  คือ งานประยุกต์คอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ทำหน้าที่รับข้อมูล (input) แล้วนำมาประมวลผล (process) ให้เป็นสารสนเทศ (information) ในรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่การใช้งาน


  4.องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศได้แก่อะไร
    ตอบ.       1.ฮาร์ดแวร์  ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบข้าง รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดตรวจ

            2. ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สอง ซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของคำสั่งที่จะสั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติงาน ซอฟต์แวร์ควบคุมระบบงาน ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับงานต่าง ๆ ลักษณะการใช้งานของซอฟต์แวร์ก่อนหน้านี้ ผู้ใช้จะต้องติดต่อใช้งานโดยใช้ข้อความเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันซอฟต์แวร์มีลักษณะการใช้งานที่ง่ายขึ้น โดยมีรูปแบบการติดต่อที่สื่อความหมายให้เข้าใจง่าย เช่น มีส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ที่เรียกว่า กุย (Graphical User Interface : GUI) ส่วนชอฟต์แวร์สำเร็จที่มีใช้ในท้องตลาดทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับบุคคลเป็นไปอย่างกว้างขวาง และเริ่มมีลักษณะส่งเสริมการทำงานของกลุ่มมากขึ้น ส่วนงานในระดับองค์การส่วนใหญ่มักจะมีการพัฒนาระบบตามความต้องการโดยการว่าจ้าง หรือโดยนักคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การ เป็นต้น ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

ซอฟต์แวร์ระบบ หมายถึง โปรแกรมทุกโปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับส่วนประกอบต่าง ๆ ของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และอำนวยเครื่องมือสำหรับทำงานพื้นฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับฮาร์ดแวร์

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จะเป็นโปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานต่าง ๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่างานด้านการจัดทำเอกสาร การทำบัญชี การจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนงานทุก ๆ ด้านตามแต่ผู้ใช้ต้องการ จนสามารถกล่าวได้ว่าซอฟต์แวร์ประยุกต์ก็คือซอฟต์แวร์ที่ทำให้เกิดการใช้งานคอมพิวเตอร์กันอย่างกว้างขวาง และทำให้คอมพิวเตอร์เป็นปัจจัยที่ไม่สามารถขาดได้ในยุคสารสนเทศนี้

ในองค์กรขนาดใหญ่หรืองานที่มีความต้องการเฉพาะด้าน การจัดหาซอฟต์แวร์มาใช้งานจะใช้วิธีพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาเอง หรือว่าจ้างบริษัทซอฟต์แวร์เพื่อทำซอฟต์แวร์เฉพาะงานให้ซอฟต์แวร์ขึ้นมาใช้เอง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้จะเรียกว่าซอฟต์แวร์เฉพาะงาน (Tailor Made software) มีข้อดีคือมีความเหมาะสมกับงานและสามารถแก้ไขตามความต้องการได้ ข้อเสียคือค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลาสำหรับการพัฒนา ปัจจุบันนี้จึงมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับงานทั่ว ๆ ไป วางจำหน่ายเป็นชุดสำเร็จรูปเรียกว่าซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Software Package)

             3.ข้อมูล ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ อาจจะเป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากจะต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ ข้อมูลจำเป็นจะต้องมีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์การ ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ

       4.บุคลากร บุคลากรในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ บุคลากรมีความรู้ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใด โอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะระบบสารสนเทศในระดับบุคคลซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงานได้เองตามความต้องการ สำหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุ่มและองค์การที่มีความซับซ้อนมาก อาจจะต้องใช้บุคคลากรในสาขาคอมพิวเตอร์ โดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน

       5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือของบุคลากรที่เกี่ยงข้องก็เป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอนในขณะที่ใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอน การปฏิบัติของคนและความสัมพันธ์กับเครื่อง ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล ขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อเครื่องมือชำรุดหรือข้อมูลสูญหาย และขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น สิ่งเล่านี้ต้องมีการซักซ้อม มีการเตรียมการ และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานให้ชัดเจน


5.สารสนเทศด้านจุดมุ้งหมายด้านขั้นตอนและสารสนเทศทั้วไปแต่ละด้านประกอบด้อยอะไร
ตอบ. 


6.โดยทั่วไปการจัดระบบสารสนเทศมีขั้นตอนการอย่างไร
ตอบ.  1การเก็บรวบรวม   
ข้อมูลสมมตินักเรียนต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเรื่องอาชีพของคนในหมู่บ้านนักเรียนอาจเริ่มต้นด้วยการออกแบบสอบถามสำหรับ การไปสำรวจข้อมูลเพื่อให้ครอบครัวต่างๆในหมู่บ้านกรอกข้อมูลมีการส่งแบบสอบถามไปยังผู้กรอกข้อมูลเพื่อทำการกรอกรายละเอียด มีการเก็บรวมรวมข้อมูลมีเทคนิคและวิธีการหลายอย่างเช่นการใช้เครื่องจักรช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตรวจจากรหัสแท่งหรืออ่าน ข้อมูลที่ใช้ดินสอระบายตำแหน่ง ที่กรอกข้อมูล
2.  การตรวจสอบข้อมูล
เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้วจำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และมีการตรวจทานหรือแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง 
3.  การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นแฟ้มข้อมูลนั้น เป็นขั้นที่สำคัญขั้นตอนหนึ่ง การไปสำรวจข้อมูลไม่ว่าในเรื่องอะไรส่วนใหญ่
จะรวบรวมข้อมูลมาหลายเรื่อง จำเป็นต้องแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่มเป็นเรื่องไว้เป็นแฟ้มข้อมูล เพื่อให้การดำเนินการ
ในขั้นตอนต่อไปจะได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น

4.  การจัดเรียงข้อมูล
ข้อมูลที่เก็บไว้เป็นแฟ้มควรมีการจัดเรียงลำดับข้อมูล เพื่อสะดวกต่อการค้นหาหรืออ้างอิงในภายหลัง 
การจัดเรียงข้อมูลเป็นวิธีการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศวิธีหนึ่ง
5.  การคำนวณ
ข้อมูลที่จัดเก็บมีทั้งข้อมูลที่เป็นอักษร ข้อความ และตัวเลข ดังนั้นอาจมีความจำเป็นในการคำนวณจำนวนที่ได้มาจากข้อมูล เช่น หาค่าเฉลี่ย หาผลรวม
6.  การทำรายงาน
การสรุปทำรายงานให้ตรงกับความต้องการของการใช้งาน จะทำให้การใช้สารสนเทศมีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้น เพราะการทำรายงานเป็นวิธีการที่จะจัดรูปแบบข้อมูลให้เป็นสารสนเทศตามความต้องการ
7.  การจัดเก็บ
ข้อมูลที่มีการสำรวจหรือรวบรวมมา และมีการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ จำเป็นต้องดำเนินการจัดเก็บเอาไว้
เพื่อใช้ในภายหลัง การจัดเก็บสมัยใหม่มักเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่  สามารถจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์
เช่น แผ่นบันทึกหรือซีดีรอม
8.  การทำสำเนา
หากต้องการใช้ข้อมูลก็สามารถคัดลอกหรือทำสำเนาขึ้นใหม่ได้ การคัดลอกข้อมูลด้วยระบบทางคอมพิวเตอร์ทำได้ง่ายและรวดเร็ว
9.  การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล
เมื่อต้องการแจกจ่ายข้อมูลให้ผู้อื่นใช้สามารถกระทำการแจกจ่ายได้โดยง่ายเทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่ทำให้จัดส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่ช่วยให้การเผยแพร่ทำได้ กว้างขวางมากขึ้น ขั้นตอนเหล่านี้เป็นขั้นตอนให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ บางขั้นตอนเป็นการเก็บและตรวจสอบข้อมูลบางขั้นตอนเป็นการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศและบางขั้นตอนเป็นวิธีการจัดเก็บ สารสนเทศเพื่อประโยชน์ของการใช้งานในภายหลัง


7.ระบบสารสนเทศระดับบุคคล ระดับกลุ่ม กับระดับองค์กรแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ  ระบบ9.ระดับบุคคล คือ ระบบข้อมูลที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้บุคลากรในแต่ละคนในองค์กร ระบบสารสนเทศระดับบุคคลนี้มีแนวทางในการประยุกต์ที่ช่วยให้การทำงานในหน้าที่รับผิดชอบและส่วนตัวของผู้นั้น มีคุณภาพและประสิทธิภาพปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีขนาดเล็กลงราคาถูกความสามารถในการประมวลผลด้วย  ความเร็วสูงขึ้น ประกอบกับมีโปรแกรมสำเร็จที่ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่าย กว้างขวางและและคุ้มค่ามากขึ้น โปรแกรมสำเร็จในปัจจุบันเริ่มมีความลงตัวและมีการรวบรวมไว้เป็นชุดโปรแกรม เช่น โปรแกรมประมวลคำ (Word Processing)ที่ช่วยในการพิมพ์เอกสาร
ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม คือระบบสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกัน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างของการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนงานของแผนก คำว่า การทำงานเป็นกลุ่ม (Workgroup) ในที่นี้หมายถึง กลุ่มบุคคลจำนวน ๒ คนขึ้นไปที่ร่วมกันทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกันโดยทั่วไป บุคลากรในกลุ่มเดียวกันจะรู้จักกันและกันและทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่ เป้าหมายหลักของการทำงานเป็นกลุ่ม คือการเตรียมสภาวะแวดล้อมที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์ในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยเหลือ
เกื้อกูลซึ่งกันและกันโดยทำให้เป้าหมายของธุรกิจดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิผล
ระบบสารสนเทศระดับองค์กร คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนงานขององค์กรในภาพรวมระบบในลักษณะ นี้จะเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายแผนกโดยการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและส่งผ่านถึงกันจากแผนก หนึ่งข้ามไปอีกแผนกหนึ่งได้ระบบสารสนเทศดังกล่าวนี้จึงสามารถสนับสนุนงานการใช้ข้อมูลเพื่อการบริหาร งานในระดับผู้ปฏิบัติการและสนับสนุนงานการบริหารและจัดการในระดับที่สูงขึ้นได้ด้วยเนื่องจากสามารถ ให้ข้อมูลจากแผนกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาประกอบการตัดสินใจ โดยอาจนำข้อมูลมาแสดงในรูปแบบสรุปหรือใน แบบฟอร์มที่ต้องการได้บ่อยครั้งที่การบริหารงานในระดับสูงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลร่วมกันจากหลายแผนกเพื่อ  ประกอบการตัดสินใจ ระบบการประสานงานเพื่อการสร้างรายได้ให้กับธุรกิจการค้า


8.ข้อมูลและความรู้คืออะไรมีความสำคัญกับสารสนเทศอย่างไร
ตอบ.   ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้เห็นเป็นประจักษ์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า ทั้งที่สามารถนับได้และนับไม่ได้ มีคุณลักษณะเป็นวัตถุสิ่งของ เหตุการณ์หรือสถานการณ์ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และต้องเป็นสิ่งมีความหมายในตัวมันเองซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของรูปภาพ  แสง  สี เสียง  รส 
ความรู้ หมายถึง เป็นสภาวะทางสติปัญญาของมนุษย์ในการตีความสิ่งเร้าทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกด้วยความเข้าใจสาระของเนื้อหา กระบวนการ และขั้นตอน อาจอยู่ในรูปของข้อมูลดิบหรือสารสนเทศระดับต่าง ๆ หรืออาจอยู่ในรูปของอารมณ์ความรู้สึกและเหตุผล 
ถ้าไม่มีข้อมูลและความรู้สานสนเทศก็จะออกมาไม่มีประสิทธิภาพ


9.การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสานสนเทศมีขั้นตอนอย่างไร
ตอบ.1. การจัดแบ่งกลุ่มข้อมูล
ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องมีการแบ่งแยกกลุ่ม เพื่อเตรียมไว้สำหรับการใช้งาน การแบ่งแยกกลุ่มมีวิธีการที่ชัดเจน 
เช่น ข้อมูลในโรงเรียนมีการแบ่งเป็นแฟ้มประวัตินักเรียน และแฟ้มลงทะเบียน สมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง
มีการแบ่งหมวดสินค้าและบริการเพื่อความสะดวกในการค้นหา
2. การจัดเรียงข้อมูล
เมื่อจัดแบ่งกลุ่มเป็นแฟ้มแล้ว ควรมีการจัดเรียงข้อมูลตามลำดับ ตัวเลข หรือตัวอักษร หรือเพื่อให้เรียกใช้งานได้ง่ายประหยัดเวลา ตัวอย่างการจัดเรียงข้อมูล เช่น การจัดเรียงบัตรข้อมูลผู้แต่งหนังสือในตู้บัตรรายการของห้องสมุดตามลำดับตัวอักษร การจัดเรียงชื่อคนในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ ทำให้ค้นหาได้ง่าย
3. การสรุปผล
บางครั้งข้อมูลที่จัดเก็บมีเป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการสรุปผลหรือสร้างรายงานย่อ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ข้อมูลที่สรุปได้นี้อาจสื่อความหมายได้ดีกว่า เช่น สถิติจำนวนนักเรียนแยกตามชั้นเรียนแต่ละชั้น
4.  การคำนวณ
ข้อมูลที่เก็บมีเป็นจำนวนมาก ข้อมูลบางส่วนเป็นข้อมูลตัวเลขที่สามารถนำไปคำนวณเพื่อหาผลลัพธ์บางอย่างได้ 
ดังนั้นการสร้างสารสนเทศจากข้อมูลจึงอาศัยการคำนวณข้อมูลที่เก็บไว้ด้วย


10.จงกล่าวถึงเครือข่ายสื่อสารข้อมูลที่มีขนาดพื้นที่และจำนวนเครื่องที่ใช้งานแตกต่างกัน
ตอบ.